วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 วันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558


เนื้อหาการเรียน

-ให้นักศึกษาทำป้ายชื่อและนำไปแปะบนกระดานว่าใครมาก่อนแปดโมงเช้าและใครมาหลังแปดโมงเช้า 
โดยบอกทักษะในการสอนเด็กว่าต้องทำแบบไหน เช่น ขีดเส้นตรงและเขียนบนหัวเส้นว่า 8.00
 และให้เด็กนำชื่อมาติดไว้หน้าเส้นและหลังเส้น

 ทดสอบก่อนเรียน
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางตณิตศาสตร์
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
เลขที่ 8 เรื่องผลไม้แสนสนุก
เลขที่ 9 เรื่องการบูรณาการสู่การพร้อมในการเรียน

โจทย์คืออะไร - คำถามคือโจทย์

-ทบทวนพัฒนาการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์
-พัฒนามโนภาพ เช่น การบวก การลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
 -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ในการเรียนรู้
2.การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยกาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง ขึ้น
3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
4.การจัดลำดับ(Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5.การวัด(Measverment)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
6.การนับ(Counting)
-การนับแบบท่องจำนี้จะสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับจุดประสงค์อื่นได้
7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
-เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกียวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข-น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
อุณหภูมิ-เย็น ร้อน อุ่น เดือด
ความเร็ว-เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

สอนร้องเพลงคิดท่าทางประกอบเพลงสวัสดียามเช้า  เพลงหนุ่งปีมีสิปสองเดือน  
เพลงเข้าแถว  พร้อมบอกเทคนิคการร้องเพลงให้กับเด็ก

ทักษะที่ได้รับ
-การนำเหตุการณในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวเลขเพื่อสอดคล้องกับคณิตศาสตร์
-เทคนิคการร้องเพลง

วิธีการสอน
-ให้เพื่อนออกไปเขียนเลขบนกระดานและให้เพื่อนท้ายว่าเลขที่เพื่อนเขียนตรงกับอะไร
-ทำแบบทกสอบก่อนเรียนเพื่อดูความรู้ของนักศึกษาก่อนเข้าเรียน
-สอนร้องเพลงพร้อมคิดท่าทางประกอบเพลง ที่สอดคล้องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประยุกต์ใช้
-สามารถนำเพลงไปใช้กับเด็กพร้องท่าทางประกอบได้
-นำกิจกรรมในห้องเรียนไป ใช้กับเด็กได้ เช่นกิจกรรม ทำป้ายชื่อและให้เด็กไป
แปะชื่อบนกระดานว่าใครมาก่อนหรือหลังแปดโมงเช้า

บรรยากาศในห้องเรียน
-สนุก
-ง่วงเล็กน้อย
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีมาก

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์หาเทคนิคมาสอนได้ดี
-สนุก
-อาจารย์เต็มที่กับการสอนมาก
คัดลอกจากเพื่อนมา  เนื่องจากดิฉันไม่ได้มาเรียนในวันที่ 28 มกราคม 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

 สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา) 
        ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยพันธุ์ใหม่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ “นิทาน” เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป 
        เพราะการสอนมีมายมายหลายแบบ หลายสื่อที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย
ดังนั้นครูปฐมวัยจึงต้องเลือกสื่อที่จะสอนเด็กให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กได้รับความรู้ ความเช้าใจ
  

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 วัน พุธ ที่ 21 มกราคม 2558


เนื้อหาการเรียน

 บททดสอบก่อนเรียน
 -ความหมายและประโยชน์ของการพัฒนาคืออะไร
 -พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
 -พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มัลักษณะอย่างไร
 -เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

เพื่อนนำเสนองานวิจัย
 เลขที่ 4 เรื่องการสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 เลขที่่ 5 เรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 เลขที่ 6 เรื่องการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น

ภาษาทางคณิตศาสตร์
 - เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
 -เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
 -ประโยชน์ทำให้รู้ความสามารถของเด็ก

การเรียนรู้
 -การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เพียเจต์        - เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
บรูเนอร์        - เด็กจะสร้างขึ้นมาแทนของจริง และออกมาเป็นรูปธรรม
ไวกอตซกี้    - ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีต้องเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สติปัญญากับสมองสัมพันธ์- การทำงานของสมองคือพัฒนาการที่เป็นลำดับขั้นตอน ก็คือตัวพัฒนาการนั้นเอง

เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้ -ลงมือกระทำกับวัตถุ
                            ประโยชน์ - จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
-จัดเป็นรูปธรรม
-ใช้สื่อที่น่าสนใจ
-เด็กมีส่วนร่วม
-ใช้เวลาไม่นาน

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอวิจัย
 -การกล้าแสดงออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 -การนำเพลงมาแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ในตอนนั้นได้
 -การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
 -นำเพลงมาสอดแทรกกับเรื่องที่เรียนเพื่อให้นักศึกษาได้คิดและปรับเปลี่ยนเพลง
 -สอดแทรกกับนักศึกษาในขณะที่นักศึกษานำเสนอวิจัยเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
 -เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด

การประยุกต์ใช้
 -นำเทคนิคการแปลงเพลงไปใช้กับเด็ก
 -การสรุปวิจัยให้สั้นและได้ใจความ

บรรยากาศในการเรียน
 -สนุก
-แอร์เย็น
 -ไม่น่าเบื่อ
 -เพื่อนมาเรียนเยอะทำให้อบอุ่น

ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
 -สอนสนุก
 -เสียงดัง ฟังชัด
 -ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน     
คัดลอกของเพื่อนมา  เนื่องจากดิฉันไม่ได้มาเรียน ในวันที่  21 มกราคม 2558

สรุปวิจัยพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

        สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนา ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.54/94.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรม ไม้ไอศกรีม 4 สี ใน การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สูง กว่าก่อนจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
       ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยจึงสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ

การบันทึกอนุทินครั้งที่2 วัน พุธ ที่ 14 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน
  
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต  ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิด
ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/294221
        วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้
คนมีความคิดรอบคอบ มีเหตุผล รู้จักหาความจริงมีคุณธรรมเช่นนี้อยู่ในใจ เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า
ความเจริญในด้านวิทยาการใด ๆ นอกจากนี้เมื่อเด็กคิดเป็นและเคยชินต่อการแก้ปัญหาตามวัย
ไปทุกระยะแล้ว เมื่อเป็นผู้ใหญ่ย่อมสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ คณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของ
วิทยาศาสตร์และเป็นวิชาหลัก ฝึกในเรื่องการสังเกต และเป็นกุญแจนำไปสู่วิชาการใหม่ ๆ มากมาย
 ไม่ว่าจะเป็นทางศิลปศาสตร์

ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
    1. ทักษะการสังเกต(Observation)
    2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
    3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
   4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
   5. ทักษะการวัด(Measurement)
   6. ทักษะการนับ(Counting)
   7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) 
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
   1. คณิตศาสตร์มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เช่น การดูเวลา การซื้อขาย
   2.  ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อาชีพนักอุตสาหกรรมนักธุรกิจ 
       ต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลผลิต การกำหนดราคาขาย
   3. คณิตศาสตร์ช่วยปลูกฝังอบรมให้เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ  และความสามารถทางสมอง

   ทักษะที่ได้รับ
-ได้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
-ได้การกล้าแสดงออก
-การระดบความคิดกันเป็นกลุ่ม

    วิธีการสอน  

-แบ่งกลุ่มและช่วยกันระดบความคิดของแต่ละกลุ่มและแต่ละหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาออกไปรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจเรื่องนั้นๆมากขึ้น

   การประยุกต์ใช้
-นำไปเป็นพื้นฐานให้ตนเองและสามารถนำไปประยุกต์กับเด็กปฐมวัยได้

   บรรยากาศในการเรียน
 -บรรยากาศดีค่ะ

   ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด
-อาจารย์ใช้วิธีการสอนได้ดี

สรุปบทความหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

       คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น  เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1 วัน พุธ ที่ 7 มกราคม 2558

เนื้อหาการเรียน

          แนวทางการปฏิบัติที่คาดหวังที่คาดหวังมี 6 ด้าน
1.คุณธรรมจริยธรรม 
2.ความรู้ตัวสาระเนื้อหา 
3.ทักษะทางปัญญา
4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.ทักษะทางตัวเลขประมวลสารสนเทศ
6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.การจัดประสบการณ์

2.คณิตศาสตร์

3.เด็กปฐมวัย

    ทักษะที่ได้รับ
-ได้รับทักษะการคิด  การคำนาณ
-ได้รับทักษะการใช้ สื่อ  ออนไลน์ในการค้นหาข้อมูล
    วิธีการสอน  
-การระดมความคิดให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริง
-สรุปเนื้อหามาเป็น My Map 
-ค้นหาสื่อ online ในการประกอบการเรียนการสอน หาความรู้เพิ่มเติม

   การประยุกต์ใช้
-การใช้ความคิด ในการหาคำตอบ 
-นำทักษะที่ใช้สื่อ My Map ไปใช้ทำความเข้าใจของรายวิชาต่างๆได้อย่างชัดเจน
-สามารถใช้สื่อ online ไปสืบค้นข้อมูล
   บรรยากาศในการเรียน
 -บรรยากาศเงียบมาก เพื่อนมาน้อย

   ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด
-อาจารย์สอนสนุกทำให้นักศึกษารู้สึกอยากเรียนตลอดเวลา